เรื่องของงานให้อยู่ที่ทำงาน ไม่ต้องเอากลับบ้าน

0

เรื่องของงานให้อยู่แต่ที่ทำงาน อย่าเอากลับบ้าน ใครหลาย ๆ คนเคยจะได้ยินเช่นนี้ไม่บ้างก็น้อย ในทุก ๆ วันเรามีเวลา 9 ชั่วโมงในที่ทำงาน หักเวลาพักไป 1 ชั่วโมง เราจะเหลือเวลาที่เราทำงานทั้งหมด 8 ชั่วโมง แต่ใน 8 ชั่วโมงจะมีใครรู้บ้างงานที่เราได้รับมอบหมายมันช่างเยอะเสียเหลือเกิน อยากจะเอาเวลาทั้ง 24 ชั่วโมงมาทำให้เสร็จ แต่ก็คงไม่ได้
งานด่วน งานเร่ง และประเด็นสำคัญคือหัวหน้าเป็นคนเจ้าอารมณ์ บางคนหัวหน้าเป็นคนเจ้าระเบียบ ทำให้ลูกน้องส่วนใหญ่ไม่กล้าที่จะเข้าไปพูดคุย หรือบางคนก็จะอาจจะรำคาญ สู้ทำเองคนเดียวสบายใจกว่าที่จะไปปรึกษาหัวหน้างาน เพราะเวลาเข้าไปคุยมีโอกาสมาก ที่จะได้รับคำตำหนิ คำว่ากล่าว ที่มันทำให้บั่นทอนกำลังใจในการทำงาน ยิ่งพอเวลาใกล้ถึงเดดไลน์ที่จะต้องส่ง ความกดดันก็จะตามมา ทำให้หลาย ๆ คนเลือกที่จะเก็บงานกลับมาทำที่บ้าน

ถ้ามองในภาพคนทำงานวัยเพิ่งแรกเริ่ม แน่นอนว่ามีพลัง พร้อมบวกอยู่เสมอ เพราะการทำงานจะต้องค่อย ๆ เพิ่มพูนประสบการณ์ก่อนที่จะเป็นใหญ่เป็นโตในอนาคต แต่การสั่งสมประสบการณ์ทำงานของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ใครจะรู้ว่าเพื่อนร่วมงานเรามีความคิดที่ไม่เหมือนกัน ประสบการณ์ของคนทำงานจะเจอกลุ่มคนหลากหลาย อย่างเช่น บางคนคิดแค่ว่าฉันมีงานทำ ทำแค่นี้ก็เหนื่อยจะแย่แล้ว ได้รับเงินเดือนทุกเดือนก็พอใจแล้ว ฉันขออยู่แบบนี้ดีกว่า คนอื่นอย่ามายุ่ง อย่าหางานที่แตกต่างจากงานประจำหรือโปรเจคต่าง ๆ มาให้ทำ ซึ่งถ้าคนที่ตั้งใจทำงาน และพร้อมที่จะผลักดันทุกอย่างให้สำเร็จตามที่หัวหน้ามอบหมาย ก็จะเป็นที่โปรดได้ทั้งปรับเงินเดือน ได้ทั้งโบนัสที่มากกว่าคนอื่น ๆ แต่ใครจะรู้บ้างว่าถ้ายิ่งทำนานขึ้น ๆ เท่าไหร่ สภาพร่างกายของเราเองก็จะแย่ตามไปด้วย
ทุกวันนี้รูปแบบการทำงานมีมากมายหลากหลาย ไม่เหมือนแต่เดิมที่เราค่อย ๆ ปรับ ค่อย ๆ จูน ใช้คนมาทำมาดู แต่ด้วยยุคสมัยนี้เราต้องทำงานกับแบบ Inno tech การพัฒนาเครื่องจักรกล หรือ AI จะเข้ามาในองค์กรมากขึ้น และแต่ละบริษัทจะหยุดพัฒนากันไม่ได้เลย เพราะถ้าหยุดเมื่อไหร่ ก็เตรียมพร้อมล้มได้เลย อย่างหลาย ๆ องค์กร ที่เคยรุ่งเรือง แต่ไม่กล้าปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต หรือการทำงาน อย่างเช่น โกดัค ซึ่งหลาย ๆ คน คงเคยได้อ่านกัน หรือว่ามีคนมาเล่าตามงานสัมนา หรือประชุม เพราะเคสนี้ถือเป็นการบอกเล่าให้เห็นภาพได้ชัดเจนที่สุด
งานส่วนใหญ่ที่คนต้องเอากลับมาทำ มาคิดต่อที่บ้านส่วนมากจะเป็นงานที่เกียวกับการวางแผน การคิดวิเคราะห์ จัดลำดับ หรือว่าจะเป็นปัญหาต่าง ๆ ทีเกิดขึ้น และต้องมาคอยคิดแก้ปัญหา ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะบั่นทอนการดำเนินชีวิตของเรา หรือการพักผ่อน แน่นอนว่าอันตรายจะเกิดกับตัวเรา เพราะเรื่องเหล่านี้จะทำให้การพักผ่อนของเราไม่เป็นเวลา นอนไม่หลับ เวลานอนก็จะมีเรื่องวนเวียนอยู่ในหัว และทำให้กลายเป็นความเครียดสะสม ซึ่งถ้าทิ้งไว้นาน ๆ ย่อมไม่ดีแน่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรคิดและรับมือกับเรื่องเหล่านี้เลยคือ

  1. การวางแผน: การวางแผนที่ดี คิดไล่ตามสเตปว่า ถ้าเกิดปัญหาตรงนี้ ต้องไปแก้ที่ตรงไหน หรือ ถ้าสิ่งนี้ใช้เวลานานและเกินจากแผนที่วางไว้ ทำให้ไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด เราะจะต้องรับมือ หรือเตรียมแผนสำรองไว้ เพราะเรื่องเหล่านี้นำมาเป็นความเครียดให้กับตัวเราเองได้ง่าย ๆ เลย ถ้าวางแผนไม่ดี เราจะต้องรู้ลิมิตของตัวเองว่าทำงานได้แค่ไหน วันนึงมี 8 ชั่วโมง ถ้าใน 8 ชั่วโมงงานเราไม่เสร็จ และต้องทำต่อ ต้องรู้ว่าร่างกายเราได้ประมาณไหน ขนาดไหนต้องพักบ้าง เพราะร่างกายไม่ใช่หุ่นยนต์ที่ทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  2. เรื่องต่อมาคือ รู้เป้าหมาย: เมื่อไหร่ที่เราตั้งเป้าหมายไว้ เราก็จะรู้ว่างานที่เราทำคืออะไร และมันจะเสร็จตรงไหน คงไม่มีคนบ้าที่ไหน ทำงานโดยไม่รู้ว่าทำไปเพื่ออะไรหรอกนะ ซึ่งมันจะตอบโจทย์การทำงานของเราได้ดี และจะทำให้มีแรงจูงใจและมีประสิทธิภาพในการทำงานเสมอ และ ถ้าเราทำได้ถึงเป้าหมาย เราจะรู้ละว่าชีวิตเราได้พักเต็มที่เมื่อไหร
  3. สุดท้ายที่สำคัญคือ การพักผ่อน: เรื่องนี้สำคัญที่สุด เพราะการหักโหมกับงานมากเกินไปจะทำให้หมดไฟและเครียดสะสมได้ การแบ่งเวลาพักจึงเป็นเรื่องสำคัญและสร้างให้ได้แบ่งให้ออกจากหัวคุณ บางคนเวลาพักผ่อน มักจะเอาเรื่องงานมาคิดโน่น นี่ นั่น ทั้งที่ตัวไม่ได้อยู่ที่ทำงาน อย่างงี้ไม่ได้เรียกว่าการพักผ่อน เพราะฉะนั้นการพักที่ถูกต้องที่สุดคือ การเอางานออกจากหัวคุณให้หมด เพื่อที่จะได้รีเฟรชสมองก่อนจะพร้อมลุยงานต่อไป สุดท้ายก็ขอกลับไปเข้าเรื่องเดิมว่า “เรื่องงานให้ทิ้งไว้ที่ทำงาน ไม่ต้องเอากลับมาบ้าน” เพราะการกลับบ้านคือการพักผ่อน พักให้จริง เพื่อวันพรุ่งนี้ที่จะมาถึง อย่าให้ร่างกายเราต้องเสี่ยงกับงานจนไม่มีเวลาดูแลตัว เพราะที่บ้านคือที่พักผ่อน ไม่ใช่ที่ทำงาน