บทบาทความเป็นผู้นำในองค์กร

0

บทบาทความเป็นผู้นำในองค์กรในชีวิตการทำงานของหลาย ๆ จะต้องเจอกับผู้นำองค์กร ผู้จัดการแผนก ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือตามแต่ขั้นที่แต่ละบริษัทจะมีก็ว่ากันไป หลาย ๆ คน ที่ทำงานในองค์กรก็ต้องมีความฝันว่าสักวันอยากจะเป็นผู้นำองค์กรที่เราอยู่ให้ได้บ้าง ได้ใส่เชิ้ต รีดเรียบ ๆ มีสูทคลุม และตอนเช้าเดินถือกาแฟร้อน ๆ เดินผ่านเพื่อนร่วมงาน แล้วเข้าห้องทำงาน เชื่อเลยว่าต้องเป็นความใฝ่ฝันของพนักงานออฟฟิตอีกหลาย ๆ คน บทบาทความเป็นผู้นำในองค์กรมักจะมาพร้อมกับหน้าที่ที่ใหญ่ยิ่ง ในการนำพาองค์กรให้อยู่รอดและมีผลประกอบการที่เติบโต
การจะก้าวมาเป็นผู้นำองค์กรนั่นอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ แต่การเป็นผู้นำที่ดีเนี่ย เป็นเรื่องยากและท้าทายอย่างมาก จะต้องมีสิ่งที่วัดตัวเราอยู่หลายเลยทีเดียวเชียว เพราะเราไม่สามารถที่จะทำให้ลูกน้องทุกรักเราได้ หรือว่าสั่งอะไรไปแล้วจะได้ผลลัพธ์ตามที่เราต้องการ ผู้นำที่ดีจะต้องมีความสามารถในการนำให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมและมองเป้าไปในทางเดียวกัน (Mission) และ วิสัยทัศน์ (Vision) ของผู้นำในการสื่อสารอย่างชัดเจนไปให้ถึงลูกน้อง
คนบางคนอาจจะมีความคิดที่ว่า ฉันยังเด็กอยู่ หรือตำแหน่งงานก็แค่นี้ ขอศึกษาจากคนแก่ ๆ รอบตัวก่อนละกัน แต่ถ้าศึกษาจากคนแก่ ๆ รอบตัวที่เค้าไม่ได้หวังอะไรแล้ว ระวังจะเป็นการศึกษาที่ผิดนะครับ คนบางคนแค่รู้ว่ามาทำงานแล้วจบไปวัน ๆ รอรับเงินเดือน หรือว่าบางคนก็จะคิดว่าอีกไม่กี่ปีก็เกษียณแล้ว คนเหล่านี้คือคนที่ไม่ได้มีภาวะพอที่จะเป็นผู้นำได้ ภาวะผู้นำไม่ได้เกิดจากความอาวุโส อายุการทำงาน หรือตำแหน่งงาน เราจะไปคิดแบบนั้นไม่ได้ ต้องมองในมุมผู้นำ ซึ่งผู้นำที่ดีจะช่วยรีดศักยภาพของผู้ตามให้ดียิ่งขึ้น การที่จะทำให้เราเป็นผู้นำทีดีนั้น ขอยกตัวอย่างสัก 8 ข้อ เพื่อให้ผู้อ่านพอเห็นภาพ

1. ความร่วมมือ
ในองค์กรที่เราอยู่ เราไม่ได้ทำงานคนเดียวแน่ ๆ งานทุกชิ้นจะมีพนักงานเป็นฟันเฟืองสำคัญ เพราะฉะนั้นทุกคนต้องร่วมมือร่วมใจ ซึ่งผู้นำมีอำนาจอยู่ใจมืออยู่แล้ว แต่ต้องใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วย ไม่ใช่สั่งอย่างเดียว แต่ต้องรับฟังเหตุผลจากผู้อื่นด้วย จะต้องใจเย็นไม่เอาอารมณ์มาผสมกับงานและเหวี่ยงใส่ลูกน้อง เพื่อให้ภาพรวมการทำงานปราศจากปัญหา ผู้นำต้องวางตัวในฐานะของผู้ที่พร้อมจะสนับสนุน ให้คำปรึกษา เพื่อให้ลูกน้องเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ การทำงานจะราบรื่น เมื่องานสำเร็จ ตัวคุณเองก็ประสำความสำเร็จด้วย


2. กล้าเปลี่ยนแปลง
กล้าทำในสิ่งที่เรียกว่าแก้ไข ปรับปรุงไปสู่การทำงานทีดีกว่าอดีต ใครจะบอกว่าวิธีนี้ทำกันมาตั้งนานแล้ว ทำมาเป็น 10 ปี ๆ แต่ในฐานะผู้นำแล้ว เมื่อเรามองเห็นว่าวิธีการแบบเดิมมันล้าสมัยไปแล้ว เราก็ต้องทำการเปลี่ยนแปลง โดยอธิบายให้ลูกน้องรู้ถึงวิธีการคิด และการเปลี่ยน ด้วยเหตุและผล เพราะฉะนั้น อย่ากลัวที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง ให้มองว่าเป็นเรื่องท้าทายที่จะต้องทำด้วยกันเพื่อนำพาองค์กรก้าวต่อไป


3. การมอบอำนาจ (Empowering)
ไม่ได้หมายความว่าให้เรามอบอำนาจของเราให้ลูกน้องทั้งหมด แต่มันคือ การมอบความไว้วางใจให้แก่พนักงาน เรื่องบางอย่างเราสามารถที่จะไว้ใจลูกน้องในการทำงาน หรือ แก้ปัญหาได้ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปก้าวก่าย ซึ่งจะทำให้บรรยากาศในการทำงานมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ผลที่ตามก็คือ พนักงานสามารถแสดงความคิดเห็นและศักยภาพของตนได้อย่างอิสระ


4. มีความเชื่อมั่นและรับผิดชอบ
คาแรกเตอร์ของการเป็นผู้นำที่ดีคือ ต้องมั่นใจในตัวเอง มีความเชื่อมั่น เป็นแบบอย่างให้กับลูกน้องในที่ทำงานได้ เมื่อลูกน้องเห็นก็จะได้มีความคิดที่น่าเอาเป็นแบบอย่าง และที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือ ผู้นำต้องมีความรับผิดชอบ รับผิดชอบต่องานที่ทำ รับผิดชอบต่อลูกน้อง และรับผิดชอบต่อองค์กร


5.รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ผู้นำที่ดีควรเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นลูกน้อง หรือคนที่จะมีดีลงานด้วย ถ้าไม่เปิดใจ หรือเอาตนเองเป็นใหญ่ ไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ก็อาจทำให้เกิดปัญหาในการทำงานได้ การที่ได้รับฟังความคิดเห็นจากหลาย ๆ ด้าน จะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาองค์กร


6.มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในที่ทำงานเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเป็นผู้นำ การที่ผู้นำจะทำงานกับลูกน้อง หรือคนรอบข้างได้นั้น มนุษยสัมพันธ์เนี่ยแระเป็นเครื่องมือที่ดี ที่ทำให้เราสามาถร่วมงานกับคนอื่นได้ การเข้าอกเข้าใจ ไม่เอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ คิดว่าคนอื่นต้องเข้าใจในสิ่งที่ฉันกำลังทำเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งนั่นอาจทำให้เกิดปัญหาในที่ทำงานได้ การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีนั้นจะสร้างความน่าเชื่อถือได้ สร้างมิตรภาพ สร้างความเคารพนับถือ เพื่อร่วมกันทำงานให้บรรลุเป้าหมาย


7.รู้จักควบคุมอารมณ์
แน่นอนว่ายิ่งอยู่ตำแหน่งที่สูง ความกดดัน ความหวังมักจะตามมาเป็นเงา แต่ต้องไม่ลืมว่าเมื่อมีการเลือกเรามาเป็นผู้นำแล้ว แสดงว่าตัวเราเองต้องมีของ อย่าให้อารมณ์นำพาจนทำให้เสียงานเสียการ เพราะว่าอารมณ์เนี่ยแระจะเป้นตัวทำลายทุกอย่าง เมื่อเราตกอยู่ภายใต้ความกดดัน เครียด หรือทำงานผิดพลาด อารมณ์มักจะพุ่งพล่าน เพราะฉะนั้นผู้นำที่ดีควรต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ได้ และไม่ระบายอารมณ์ใส่ลูกน้อง ยิ่งถ้าไประบายอารมณ์ใส่ลูกน้อง แน่นอนเลยว่าบรรยากาศการทำงานจะไม่เหมือนเดิม คุมได้ ต้องคุมให้อยู่ อย่าให้อารมณ์เหนือเหตุผล
8. พร้อมให้คำปรึกษา และเปิดโอกาส
บทบาทความเป็นผู้นำ เมื่องานบางงานผู้นำไม่จำเป็นต้องไปลงมือทำเอง เป็นผู้สั่งการและให้ลูกน้องทำ เพราะฉะนั้น เมื่อลูกน้องต้องการคำปรึกษา เราะต้องพร้อมที่จะให้คำปรึกษาแก่ลูกน้อง และทำให้ลูกน้องรู้สึกเข้าถึงง่าย ไม่ใช่ว่าเวลาลูกน้องจะเข้าหา ก็จะเริ่มชักสีหน้า เสียงนี่เข้มมาก่อนเลย ถ้าเป็นแบบนี้ เชื่อได้เลย ร้อยทั้งร้อย ก็ไม่มีลูกน้องคนไหนเข้าหา และงานก็จะไม่เป็นไปในแบบที่ต้องการอีก



บทสรุปจากทั้ง 8 ข้อนี้ขอเสนอเป็นแนวทางในการที่จะเป็นผู้นำองค์กร เป็นหัวหน้าคน เมื่อไหร่ก็ตามที่ได้รับการคัดเลือกขึ้นมาเป็นผู้นำแล้ว ขอให้มีความมุ่งมั่นและทำทุกอย่างให้เต็มที่ เพราะไม่ใช่ว่าใครจะขึ้นมาเป็นผู้นำก็ได้ จะต้องมีการคัดเลือก เพราะฉะนั้น เมื่อได้เป็นผู้นำแล้วก็อย่าลืมปรับเปลี่ยนตัวเอง เรียนรู้และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด