คุยกันให้รู้เรื่องด้วยหลัก Assertive Communication

0

จากประเด็นทางการเมืองที่เกิดขึ้นนั้น ทำให้เรารู้ว่า การสื่อสารระหว่างกันด้วยความเข้าใจคือสิ่งสำคัญที่มักถูกมองข้าม ไม่ว่าการพูดคุยนั้นจะเกิดขึ้นระหว่าง สามี-ภรรยา คู่รัก พ่อแม่-ลูก เจ้านาย-ลูกน้อง เรื่องที่คุยไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหญ่ระดับการเมืองเท่านั้น แต่สามารถเป็นเพียงแค่การเเสดงความรู้สึกเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน การพูดคุยที่ดีควรจะต้องสร้างความปรองดองและความเข้าใจให้กับทั้งผู้พูดและผู้ฟัง และการสื่อสารที่ดีนั้นควรยึดหลัก Assertive Communication หรือ การสื่อสารที่กล้าแสดงออก

Assertive Communication

Assertive Communication คืออะไร?

วิธีการสื่อสารและการเปิดเผยความรู้สึก ความคิด และทัศนคติ ที่ผู้ฟังจะเข้าใจว่าความต้องการของผู้พูดคืออะไรโดยที่ไม่ดูถูกความคิดเห็นของผู้พูด

Assertiveness หรือ ความกล้าแสดงออก คือความสามารถที่กล้าเเสดงออกถึงความคิดและความรู้สึกอย่างเปิดเผย โดยยึดหลัก Honest (ซื่อสัตย์ต่อตัวเองและผู้ฟัง), Appropriate (เหมาะสมกับสถานการณ์), Respectful (อย่างเคารพซึ่งกันและกัน) และ Direct (ตรงไปตรงมา)

Assertive Communication

อุปสรรคของ Assertive Communication

หลายคนกลัวการแสดงออก ขาดทักษะการเเสดงออกอย่างถูกต้อง หรือแม้กระทั่ง เชื่อว่าพวกเขาไม่มีสิทธิที่จะเเสดงออกเลยด้วยซ้ำ

การสื่อสารด้วยความกล้าเเสดงออกอาจดูเป็นสิ่งดี แต่ไม่สามารถรับประกันได้เลยว่าผู้ฟังจะคล้อยตามความคิดของเราได้ แต่อย่างน้อย การแสดงออกเหล่านี้จะช่วยสร้างขอบเขตระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังได้เป็นอย่างดี

Passive vs. Aggressive vs. Passive-Aggressive

ก่อนจะเข้าใจว่าการแสดงออกอย่างถูกต้อง (Assertiveness) เป็นอย่างไร เราควรต้องเข้าใจการแสดงออกที่เป็นขั้วตรงข้ามกันอย่าง Passive (นิ่งเฉย) Aggressive (ดุดัน) และ Passive-Aggressive (นิ่งเฉยอย่างไม่ใยดี)

Passive คือความรู้สึกว่าความคิดเราไม่สำคัญ และยอมให้คนอื่นเอาเปรียบ Aggressive คือการเปิดเผยความรู้สึกที่ตรงไปตรงมาอย่างรุนแรง จนอาจถึงขั้นคุกคาม ส่วน PassiveAggressive คือการเเสดงความนิ่งเฉยเพราะไม่พอใจ การโกหกซึ่งหน้า รวมถึงนินทาลับหลัง

4 ขั้นตอนในการแสดงออกที่ดี

  1. บอกผู้ฟังว่าเราคิดอย่างไรกับการกระทำของเขาโดยไม่ใส่ร้ายหรือต่อว่า
  2. บอกผู้ฟังว่าเรารู้สึกกับการกระทำของเขาอย่างไร
  3. บอกผู้ฟังว่าการกระทำของเขาส่งผลกระทบต่อเราอย่างไร รวมถึงต่อความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างไร
  4. บอกผู้ฟังว่าเราอยากให้เขาแก้ไขการกระทำของเขาอย่างไร
Assertive Communication

หลักการสื่อสารแบบ XYZ

XYZ คือหลักการสื่อสารที่ผู้พูดสามารถแสดงออกต่อผู้ฟังด้วยความเข้าใจ เพราะผู้พูดไม่ได้แค่เเสดงออกแบบขอไปทีหรือแค่บ่น ๆ ไป แต่เป็นการแสดงออกอย่างละเอียดและบอกถึงวิธีการเปลี่ยนแปลงต่อผู้ฟัง

วิธีการแสดงออกแบบ XYZ

ฉันรู้สึก X / เมื่อคุณทำ Y / ในสถานการณ์ Z / และฉันอยากให้คุณปรับเปลี่ยนตามนี้

ตัวอย่าง – ฉันรู้สึกโกรธ (X) ทุกครั้งที่คุณวางจานข้าวไว้อย่างไม่เป็นระเบียบ (Y) หลังจากกินมื้อเย็นเสร็จ (Z) ต่อไปนี้ฉันอยากให้คุณช่วยเก็บจานไว้ในอ่างล้างเพื่อฉันจะได้ทำความสะอาดง่ายขึ้น

ตัวอย่างอิงจากสถานการณ์ปัจจุบัน – ฉันรู้สึกกลัว (X) เมื่อคุณด่าฉันที่เห็นต่างทางการเมืองกับคุณ (Y) ทุกครั้งหลังดูข่าวการชุมนุม (Z) ถ้าเป็นไปได้อยากให้ช่วยลดความรุนแรงของคำพูด ทำความเข้าใจและเคารพความเห็นต่างระหว่างกันจะดีกว่า

หากคุณผู้อ่านกำลังประสบปัญหาด้านการสื่อสารกับคนใกล้ตัว ไม่ว่าจะเรื่องการเมืองหรือเรื่องในชีวิตประจำวัน ลองนำหลักที่กล่าวในบทความนี้ รวมถึง รูปแบบการพูดอย่าง XYZ ไปใช้ดูนะครับ บรรยากาศการสนทนาน่าจะมีความเข้าใจกันมากขึ้นและลดความตึงเครียดสำหรับทั้งผู้พูดและผู้ฟังได้

อ้างอิง

American Psychological Association