การทูตผ่านการค้าอาวุธ

0

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือ การทูต คือนโยบายทางการเมืองประการหนึ่งของรัฐบาลที่มีความสำคัญไม่แพ้ด้านอื่น ในวันที่โลกเข้าสู่ยุค Globalization ที่ทุกประเทศเชื่อมต่อถึงกันอย่างไร้รอยต่อ ต่างฝ่ายต่างต้องพึ่งพาอาศัยกันบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วม ประเทศไทยเองก็ดำเนินนโยบายทางการทูตอย่างกระตือรือร้นต่อประเทศมิตรไมตรีทั้งประเทศเพื่อนบ้านและมหาอำนาจทั่วโลกไม่ต่างจากชาติอื่น

การทูต ไม่ใช่เพียงแค่การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่เป็นการสร้างความไว้ใจต่อกันในด้านธุรกิจ ค้าขาย นำเข้า-ส่งออก รวมถึงการท่องเที่ยว

การค้าขายคือประเด็นสำคัญของการทูต แต่ไม่ใช่เพียงแค่การค้าขายสินค้าทั่วไปเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการค้าอาวุธด้วย ในบทความนี้เราจะมาขยายความการเลือกซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของไทย ที่นโยบายทาง การทูต มีบทบาทต่อการเลือกซื้ออย่างมีนัยยะสำคัญ

เราจะแบ่งการซื้ออาวุธออกไปสองยุค นั่นคือ ยุคก่อนและหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2557

ยุคก่อนรัฐประหาร 2557

แม้ประเทศไทยจะวางตัวเป็นกลางไม่โน้มเอียงฝักใฝ่ฝ่ายใดอย่างเห็นได้ชัดในเวทีโลก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสหรัฐอเมริกา คือมหามิตรของประเทศไทยมาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคสงครามเย็น นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าเรามีแนวโน้มจะซื้ออาวุธจากสหรัฐฯ รวมถึงประเทศที่ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งกับสหรัฐฯ มากกว่า

การทูต
MSgt. Cohen Young – dvidshub.net
  • เครื่องบินรบ F16 A/B จากบริษัท Lockheed Martin ประเทศสหรัฐอเมริกา คือเครื่องบินรบหลักของกองทัพอากาศไทยมาอย่างยาวนาน
การทูต
  • เครื่องบินรบ JAS-39 Gripen จากบริษัท SAAB ประเทศสวีเดน เป็นเครื่องบินรบที่นำมาแทน F5 (Lockheed Martin) ที่ปลดระวางไปแล้ว การซื้อเครื่องบินรบของสวีเดนชุดนี้ได้รับคำชมจากคนในเเวดวงทหารเป็นอย่างมากเพราะได้ทั้งความคุ้มค่าในด้านแพ็คเกจราคาและประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับระดับโลก
การทูต
  • ปืน Tavor TAR-21 ปืนเล็กยาวจากบริษัท Israel Weapons Industries ประเทศอิสราเอล (พันธมิตรสหรัฐฯ) คือปืนหลักประจำกองทัพบก ซึ่งมาแทนปืน M16A1 จากสหรัฐฯ ที่ใช้มาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนามเมื่อ 40 ปีที่เเล้ว
การทูต
  • รถถัง Oplot-T จากบริษัท Ukroboronprom ประเทศยูเครน กองทัพบกมีความจำเป็นต้องนำเข้ารถถังรุ่นใหม่เพื่อเข้ามาแทนที่รถถัง M41 จากสหรัฐฯ ที่มีอายุเก่าเเก่กว่า 50 ปี แต่เกิดปัญหาความล่าช้าในการผลิตรวมถึงเหตุสงครามกลางเมืองจากวิกฤติไครเมียที่เขตนี้ต้องการเเยกไปอยู่ภายใต้การปกครองของรัสเซีย ทำให้การส่งมอบรถถัง Oplot-T ไม่ได้ตามเป้าจนนำไปสู่การสั่งซื้อรถถังจากจีนแทนในเวลาต่อมา
ยูเครนส่ง BTR-3E1 หุ้มเกราะล้อยางให้ไทยอีกล็อต เป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี
  • รถยานเกราะ BTR-3 จากบริษัท Ukroboronprom ประเทศยูเครน

จะเห็นได้ว่ารากฐานอาวุธยุทโธปกรณ์ของไทยนั้นตั้งแต่อดีตจนถึงก่อนยุครัฐประหาร 2557 มาจากสหรัฐอเมริกาเสียส่วนใหญ่ (ปืน รถถัง เครื่องบินรบ เรือรบ เรือตรวจการ เฮลิคอปเตอร์) โดยมีการจัดซื้อมาใช้งานเริ่มตั้งเเต่ช่วงสงครามเย็นเนื่องจากสหรัฐฯ เกรงกลัวอิทธิพลของระบอบคอมมิวนิสต์ที่เเพร่ขยายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเวลานั้น จึงตัดสินใจเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยและสนับสนุนให้ไทยต่อต้านคอมมิวนิสต์ผ่านการจัดซื้ออาวุธและการทูตนับแต่นั้นเป็นต้นมา

เมื่ออาวุธที่ใช้งานถึงเวลาต้องปลดระวาง ไทยเองก็ไม่ได้หันไปพึ่งพิงพี่ใหญ่อเมริกาเพียงอย่างเดียว แต่เลือกซื้ออาวุธจากหลากหลายประเทศโดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและความเหมาะสมต่อการใช้งาน แต่หากเราวิเคราะห์ลึกลงไปกว่านั้นเเล้ว จะเห็นว่าไทยเองก็เลี่ยงที่จะซื้ออาวุธจากจีนหรือรัสเซียที่เป็นคู่ขัดแย้งของสหรัฐฯ โดยตรง ซึ่งเหตุผลก็คงไม่พ้นความต้องการรักษาระดับความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐฯ เอาไว้

ยุคหลังรัฐประหาร 2557

หนึ่งในนโยบายสำคัญของสหรัฐฯ และ สหภาพยุโรป คือการลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตและการทหารกับประเทศที่เกิดการรัฐประหารและถูกปกครองด้วยระบอบเผด็จการ (Junta) นั่นจึงทำให้ประเทศไทยในยุครัฐประหารไม่สามารถจัดซื้ออาวุธจากชาติตะวันตกเหล่านี้ได้ระยะหนึ่ง แต่การรัฐประหารนั้นไม่ได้หมายถึงการยุติบทบาททางการทูตของสหรัฐฯ โดยสิ้นเชิงเพราะแม้จะไม่ได้ขายอาวุธให้ แต่สหรัฐฯ ยังคงส่งทหารมาร่วมฝึกกับกองทัพไทยอยู่เป็นปรกติ

ด้วยบริบททางการทูตที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ ทำให้ไทยต้องหันไปเจริญความสัมพันธ์กับมหามิตรประเทศใหม่ นั่นก็คือประเทศจีน โดยจีนมีจุดยืนทางการทูตมาตลอดว่าจะไม่ตัดสิน วิจารณ์ หรือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับระบอบการปกครองของประเทศอื่น เราสามารถพูดได้ว่าจีนคบค้าได้กับทุกประเทศโดยไม่สนบริบทการเมืองของประเทศนั้น ๆ (ผลประโยชน์เป็นสำคัญ)

https://www.defnetofficial.com/post/กองท-พไทยบกจ-ดหา-vt-4-เพ-มอ-ก-14-ค-น
  • รถถัง VT-4 จำนวน 48 คัน จากบริษัท Norinco ประเทศจีน เป็นรถถังยุคใหม่ของจีนที่ถูกจัดซื้อเพราะรถถัง Oplot-T ของยูเครนไม่สามารถจัดส่งได้ครบตามสัญญา ประเทศไทยคือประเทศเดียวในโลกที่สั่งซื้อรถถังรุ่นนี้จากจีน
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1758412
  • รถยานเกราะ VN-1 จำนวน 49 คัน จากบริษัท Norinco ประเทศจีน แม้จะมีการจัดซื้อรถยานเกราะ BTR-3 จากยูเครนเเล้ว เเต่ทางกองทัพบกเห็นสมควรว่าควรจัดซื้อรถยานเกราะเพิ่มเติมให้เพียงพอต่อสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นอย่างคาดเดาไม่ได้ในอนาคต ไทยเป็นลูกค้ารายที่ 3 ถัดจากเวนเนซุเอล่าและอาร์เจนตินาที่จัดซื้อรถยานเกราะรุ่นนี้จากจีน
https://www.thaipost.net/main/detail/12577
  • เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง MI-17V5 จำนวน 2 ลำ จากบริษัท Kazan Helicopters ประเทศรัสเซีย เพื่อนำมาทดแทนเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงของสหรัฐฯ ที่ปลดระวางไปแล้วอย่าง Boeing CH-47D Chinook
มาเจาะสเปคเรือดำน้ำ S26T Yuan modified-class ของจีนกันครับ - Pantip
  • เรือดำน้ำ S26T จากบริษัท China Shipbuilding & offshore International ประเทศจีน ทางกองทัพเรือได้จัดซื้อมาแล้ว 1 ลำ (อยู่ระหว่างผลิต) และจะจัดซื้อลำที่ 2 และ 3 แต่ติดปัญหา COVID-19 กับภาวะเศรษฐกิจถดถอย เกิดความไม่พอใจของประชาชนในการใช้จ่ายเงินของกองทัพ จึงทำให้ต้องเลื่อนการจัดซื้อลำที่ 2-3 ออกไปก่อน
A Stryker armoured vehicle is displayed at the Royal Thai Army yesterday after the army received a batch of 10 of the 60 vehicles acquired from the US. Chanat Katanyu
https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1748869/army-receives-us-strykers
  • รถยานเกราะ Styker (หลังการเลือกตั้ง) จากบริษัท General Dynamics Land Systems ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจัดซื้อตามโครงการความช่วยเหลือทางการทหาร FMS – Foreign Military Sales ซึ่งทำให้ไทยได้รถยานเกราะชุดนี้ในราคาที่คุ้มค่าพร้อมการสนับสนุนของสหรัฐฯ ด้านการทหารที่มากขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตามด้วยภาวะเศรษฐกิจช่วง COVID-19 ทำให้กองทัพบกตัดสินใจเลื่อนการจัดซื้อครั้งนี้ไปในปี 64-65 แทน

หลังยุครัฐประหารจะเห็นได้ชัดว่าไทยที่อยู่ในระบอบเผด็จการจำเป็นต้องเอนเอียงไปคบค้ากับประเทศจีนและรัสเซียมากขึ้น เเต่เมื่อระบอบประชาธิปไตยได้กลับเข้าสู่การเมืองไทยจนถึงการเลือกตั้ง สหรัฐฯ ก็กลับมายกระดับทางการทูตกับไทยจนอยู่ในขั้นปรกติ แต่รัฐบาลไทยที่ยังคงมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและต้องการค้าขายกับจีนต่อไป ดังที่จะเห็นได้จากความต้องการจัดซื้อเรือดำน้ำจากจีนเพิ่ม การวางแผนเส้นทางรถไฟไทย-จีน รวมถึงการซื้อรถไฟความเร็วสูง Fuxing Hao CR300 จากจีนอีกด้วย

นั่นจึงทำให้สหรัฐฯ เลิกนิ่งเฉยเพราะไม่ต้องการเห็นจีนเข้ามามีอิทธิพลในการเมืองไทยมากเกินไป จึงเกิดโครงการการทูตผ่านกองทัพไทยด้วยโปรแกรม FMS – Foreign Military Sales ที่เป็นโครงการจัดซื้อเพื่อช่วยเหลือทางการทหารแก่ไทย ไทยจะได้รถยานเกราะ Styker ในราคาที่คุ้มค่าและสหรัฐฯ ยังเเถมรถยานเกราะนี้มาให้ฟรีอีกหลายคัน ทำให้กองทัพบกจะมี Stryker รวมทั้งหมดจากโครงการนี้ 140 คัน

Taiwan already has a fleet of old-model F-16s procured in 1992, which have undergone several upgrades [File: Pichi Chuang/Reuters]
Pichi Chuang/Reuters

จากบทความนี้จะเห็นได้ว่าการทูตผ่านการทหารคือเรื่องจำเป็นของทุกประเทศทั่วโลก กรณีล่าสุดที่น่าสนใจคือการจัดซื้อเครื่องบินรบ F16 ยุคใหม่ของไต้หวัน จำนวน 66 ลำ มูลค่า 62,000 ล้านดอลลาร์ จากสหรัฐฯ การซื้อ-ขายอาวุธครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างการแสดงออกทางการทูตผ่านการทหารที่น่าสนใจ นอกจากจะยกระดับระดับการทูตและความช่วยเหลือระหว่างสหรัฐฯ และไต้หวันเเล้ว ยังเป็นการตอกหน้าจีนด้วยว่าไต้หวันมีความพร้อมรบและมีพันธมิตรใหญ่หนุนหลังอยู่

เรื่องราวเหล่านี้ทำให้เราเปลี่ยนมุมมองทางการทูตเสียใหม่ การทูตผ่านการค้าอาวุธคืออีกหนึ่งนโยบายที่นานาประเทศให้ความสำคัญโดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา รัสเซีย และจีน ในส่วนของไทยนั้น เรายึดหลักความเป็นกลางทางการทูตมาโดยตลอด แต่หลังจากที่รัฐบาลไทยหันไปกระชับความสัมพันธ์กับจีนจนอยู่ในระดับที่แยกออกจากกันไม่ได้แล้ว อนาคตต้องมาดูกันอีกครั้งว่าการทูตที่เอนเอียงไปทางจีนแบบนี้ จะทำให้ไทยเดินหน้าในเวทีโลกไปในทิศทางไหน

อ้างอิง

นักการตลาด นักเดินทางสายธรรมชาติ และหนอนหนังสือ ที่มีความสนใจมากมายจนนับไม่ถ้วน ตั้งแต่ด้านสังคม การเมือง การศึกษา ธุรกิจ เทคโนโลยี และวงการเกม