จุดจบยุคแห่งความเร็ว สู่คำว่า ประหยัดพลังงาน

ประหยัดพลังงาน0

หากนับเวลาจนถึงปัจจุบัน ปี 2020 ถือเป็นเวลาที่ล่วงเลยมากว่าครึ่งศตวรรษ หรือนับอย่างเจาะจงได้ 55 ปี (ตั้งแต่ปี 1965) กอร์ดอน มัวร์ (Gordon E. Moore) อดีตซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล (intel) ได้พูดถึงหลักการสำคัญของการเพิ่มขึ้นของความเร็วในการประมวลผลของชิพคอมพิวเตอร์ โดยมัวร์คาดการณ์เอาไว้ว่า ซิพคอมพิวเตอร์จะสามารถใส่จำนวนทรานซิสเตอร์ได้ในปริมาณเท่าตัวทุกๆ ปี หรือผู้ง่ายๆ ได้ว่า ตัวประมวลผลของคอมพิวเตอร์นั้นจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวทุกๆ ปี และอย่างน่าประหลาดใจ เมื่อสิ่งที่มัวร์กล่าวถึงเป็นความจริงอย่างที่เขาว่ามาหลายสิบปี จึงเกิดเป็นที่ของการเรียกการพัฒนาเป็นเท่าตัวนี้ว่า กฏของมัวร์ (Moore’s Law) แม้ตัวมัวร์เองจะไม่ได้บอกว่านี่คือกฏ แต่มันแค่เป็นเพียงการคาดการณ์และสังเกตุจากการพัฒนาซิพใน อินเทล (intel) เท่านั้นเอง เพราะวันนี้เราจะมาพูดถึงการ ประหยัดพลังงาน

โลกเราถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีรุ่นใหม่อย่างไม่หยุดยั้ง ความเร็วของ CPU ในการคำนวณ มีประสิทธิภาพสูงกว่าแต่ก่อนเป็นอย่างมาก ในราคาที่ถูกลงอย่างมหาศาลเช่นกัน คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เป็นเหมือนเรื่องเพ้อฝันในยุคนั้น กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนมีอุปกรณ์ประมวลผลอย่างโทรศัพท์ข้างตัวตลอดเวลา และหากย้อนไปกว่า 30 ปีที่แล้ว ความเร็วระดับ 1 MHz ถือว่าเร็วมาก จนถึงวันนี้ ความเร็วพัฒนาถึง 5 GHz แล้ว ซึ่ง กว่า 3500 เท่าเลยทีเดียว*

ความน่าสนใจที่ผมจะพูดให้ฟังในวันนี้ เป็นเพียงความประหลาดใจในหลายอย่างที่เกิดขึ้นหลังจากนั่งอ่านบทความเรื่อยเปื่อยแล้วไปเจอกับเรื่องราวของยานอวกาศวอยเอจเจอร์ (Voyager) ยานอวกาศลำนี้เป็นความหวังของมนุษยชาติที่ถูกส่งออกไปล่องลอยเคว้งคว้างในอวกาศ โดยมีภาระกิจเริ่มแรกด้วยการไปสำรวจดาวอังคาร และถูกเปลี่ยนเป้าหมายไปยังดาวพฤหัส-ดาวเสาร์ และท้ายที่สุดคือการมุ่งสู่นอกระบบสุริยะอันไกลโพ้น 

voyager
https://en.wikipedia.org/wiki/File:Voyager_spacecraft.jpg

สิ่งที่ผมประหลาดใจเป็นอย่างมากคือ เจ้ายานอวกาศวอยเอจเจอร์ (Voyager) นี้ ถูกส่งออกนอกโลกตั้งแต่ปี 1977 หรือเป็นเวลากว่า 43 ปีมาแล้ว มันยังสามารถที่จะทำงานด้วยพลังงานแรกเริ่มที่ถูกบรรจุไว้ในยานลำนี้ด้วยพลูโตเนี่ยม และเมื่อตามไปอ่านอีกสักหน่อย จึงพบว่า ยานอวกาศวอยเอจเจอร์นั้นใช้ระบบประมวลผลคอมพิวเตอร์ที่ความเร็วเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับปัจจุบัน โดยมันยังทำหน้าที่ได้อย่างดี และบินออกสู่ขอบของระบบสุริยะเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

40 กว่าปี ยังสามารถขับเคลื่อนด้วยพลังงานของพลูโตเนี่ยม

ด้วยความสามารถในการประหยัดพลังงานอย่างไม่น่าเชื่อ อาจจะเพราะพลังงานอันยืนยาวของพลูโตเนี่ยม หรือการใช้พลังงานอันน้อยนิดของซิพประมวลผล ล้วนบ่งบอกว่าการประหยัดพลังงานจะกลายเป็นหัวใจสำคัญในการผลิตอุปกรณ์ในยุคสมัยหน้า และเหล่าธุรกิจด้านเทคโนโลยีก็กำลังวางรากฐานเหล่านี้อยู่เช่นกัน อย่างเช่น บริษัท Apple ก็มีทีท่าถึงการเปลี่ยนถ่ายให้คอมพิวเตอร์รุ่นพี่อย่าง Macbook มาใช้ชิพประมวลของตัวเอง ที่มีสถาปัถยกรรมการออกแบบที่ประหยัดพลังงานกว่าอินเทล และถูกนำมาใช้ใน iPhone กับ iPad มาเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว เรียกกันว่า  “Arm-based architecture”

ด้วยเทคโนโลยีอย่าง ARM ทำให้การใช้พลังงานของการประมวลผลต่ำมาก จนในปัจจุบัน เราจะได้เห็นการเปลียนถ่ายการผลิตชิป อย่างเช่น M1 ของ apple เป็นต้น (อ่านต่อได้ที่นี่)

https://unsplash.com/photos/S4jSvcHYcOs
https://medium.com/swlh/advances-in-arm-what-it-could-mean-to-the-future-of-computing-2e76417bbfe7

เหตุการณ์เน้นการ ประหยัดพลังงาน กำลังเป็นจุดเปลี่ยนของมุมมองอุสาหกรรมทั่วโลก อย่างเช่น รถยนต์เทสล่า ที่หลายคนเริ่มให้ความสนใจถึงการใช้พลังงานไฟฟ้า แต่แม้กระทั่งรถแข่งอย่าง formula 1 ก็ยังเริ่มที่จะต้องหันมาสนใจถึงการประหยัดพลังงานให้มากที่สุด แทนที่จะเน้นเพียงการทำความเร็วขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้ได้มาอีกเสี้ยววินาทีและซดน้ำมันไปมหาศาล แต่หากประหยัดพลังงานเพิ่มขึ้นอีก 2 วินาที ก็เป็นผลให้ตัดสินผู้แพ้ชนะได้เช่นกัน 

และเมื่อพูดถึงการประหยัดพลังงานในรถยนต์ เราก็ยิ่งเห็นเทรนด์ที่ชัดเจนว่า ความเร็วไม่ใช้สิ่งที่คนกำลังมองหาอีกต่อไป เครื่องยนต์ 6 สูบ 3000cc แรงม้าสูง กลับไม่หอมหวานเท่า เครื่องยนต์ประหยัดพลังงาน และวิ่งได้ในระยะทางที่ไกล

https://en.wikipedia.org/wiki/Tesla,_Inc.#/media/File:2020.04.02_Chart_of_Sales.jpg

จากรูปเป็นตัวอย่างยอดขายของรถยนต์เทสล่า (Tesla) ที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ยิ่งเป็นการตอกย้ำความสนใจของเหล่าลูกค้าในรถยนต์ที่ประหยัดพลังงานมากขึ้นนั้นเอง

ทำให้ในปัจจุบันนี้ กฏของมัวร์อาจจะไม่ได้เป็นจริงเสมอไปแล้ว เพราะโลกกำลังมุ่งสู่เส้นทางประหยัดพลังงาน  หากความเร็วอันสูงสุดของ CPU แลกมากับพลังงานมหาศาล คงไม่จำเป็นอีกต่อไป ดั่งที่เราเห็นสินค้าใหม่ เน้นแบตเตอรี่ที่ยาวนานมากขึ้น และหากการที่เราจะเดินทางสู่ห้วงอวกาศ เราอาจจะต้องการระบบที่ใช้การได้เป็นร้อยปี มากกว่าความเร็วของการประมวลผลก็เป็นได้

Entrepreneurship, Credit Analyst, Marketing Executive, Strategic Planning Director and Investor - และทุกวันนี้ ผมยังเป็นนักเรียน ทุกสิ่งทุกอย่างรวมถึงการตลาดนั้นไม่เคยหยุดนิ่ง ฉะนั้นแล้วเราจะต้องไม่หยุดที่จะเรียนรู้

Related Posts