อาร์เอส ปรับกลยุทธ์ สำเร็จได้แบบองค์กรยุคใหม่ ต้องใช้ Passion นำทาง

1

ไม่ว่าจะทำงานอะไรก็ตาม หากขาด “Passion” ยากที่ผลงานจะออกมาดี เพราะ Passion มันคือความกระหาย ความหลงใหล ความคลั่งไคล้ “เป็นจุดเริ่มต้น” ของการให้คุณค่าและความหมายในสิ่งที่กำลังทำ แน่นอนว่าทำธุรกิจย่อมอยากสำเร็จด้านการเงิน แต่แรงจูงใจของธุรกิจที่ลึกไปกว่านั้นของ อาร์เอส ในวันนี้คือ “Passion to win” ที่ต้องเป็นแรงบันดาลใจ เติมเต็มชีวิตผู้คน ด้วยความบันเทิง สินค้า และบริการที่สร้างสรรค์ และมีคุณค่ากับสังคม

ภาพลักษณ์ใหม่ผ่านเลนส์ของ “คนสร้างแบรนด์” 

ช่วงที่ผ่านมาอาจจะผ่านตากับ “โลโก้ใหม่” ของ อาร์เอส ที่เราคุ้นเคยกันดี ที่ดูแปลกตาและทันสมัยขึ้นผิดหูผิดตา แต่จริงๆ แล้วนอกเหนือจากโลโก้ นั่นคือการยกเครื่องปรับภาพลักษณ์ใหม่ทั้งหมด คือการ “สร้างอัตลักษณ์” ที่สะท้อนให้เห็นแนวคิดใหม่ และเข้ากับการปรับโครงสร้างและกลยุทธ์ธุรกิจ แต่ยังอยู่บนพื้นฐานของ DNA ของผู้ก่อตั้งนั่นคือ “เฮียฮ้อ” สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ที่มีแนวคิดที่ยึดเป็นหลักอยู่เสมอว่าธุรกิจ “ต้องไม่ตกเทรนด์”

การปรับภาพลักษณ์ (Rebranding) ของ อาร์เอส กรุ๊ปในครั้งนี้ได้กราฟฟิกดีไซเนอร์มือดีระดับโลก มารีน่า วิลเลอร์ ที่มีผลงานออกแบบโลโก้ให้ “Tate Modern” พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่สำคัญของประเทศอังกฤษ ที่ผลงานของเธอเป็นที่ขึ้นชื่อถึงเรื่อง Timeless คือไม่เน้นตามกระแสแบบฉาบฉวย และยังดูเข้ากับยุคสมัยได้ แม้เวลาจะผ่านไปแล้วกว่า 20 ปี 

มารีน่า ได้เผยถึงความท้าทายในการ “สร้างอัตลักษณ์” ให้ อาร์เอส ในครั้งนี้ด้วยการนำเอกลักษณ์และความแตกต่างของโมเดลธุรกิจใหม่ “Entertainmerce” เพราะองค์กรใหญ่อย่างอาร์เอส กรุ๊ป มีประวัติและเป็นที่รู้จักมาอย่างยาวนาน และกำลังคิดใหม่ ทำใหม่ ก่อธุรกิจใหม่อีกมากมายผ่าน “แรงขับเคลื่อนที่สร้างสรรค์” ฉะนั้นอัตลักษณ์ใหม่ของ อาร์เอส ต้องสามารถสื่อถึงการเป็น “แกนหลักสำคัญ” ที่จะสนับสนุนงานของบริษัทอื่นๆ ในเครือให้เติบโตได้อย่างไม่หยุดยั้ง ด้วยเป้าหมายเดียวกันคือ สร้างแรงบันดาลใจ เติมเต็มชีวิตผู้คนด้วยความคิดสร้างสรรค์และมีคุณค่ากับสังคม

มองแผนธุรกิจใหม่ผ่านเลนส์ของ “คนทำธุรกิจ” 

นอกจากจะปรับโฉมยกเครื่องเรื่องอัตลักษณ์ใหม่แล้ว อาร์เอส ยังปรับผังโมเดลธุรกิจใหม่ “Entertainmerce” ที่แตกต่างไม่เหมือนใครขึ้นมาเป็นเจ้าแรกของประเทศไทย คือการเอาจุดแข็งและประสบการณ์ด้าน Entertain และ Media มาผูกกับ Commerce นับว่าเป็นการควบรวมตลาดที่มีมีมูลค่ารวมมหาศาลกว่าแสนล้านบาท ที่ยังมีทั้งโอกาสทางตลาด และช่องทางที่ยังไปได้อีกเยอะมาก

เรียกได้ว่าเป็น Growth mindset คือแนวคิดแบบเติบโตที่เมื่อเห็นโอกาสแล้ว “กล้าลงมือทำ” ร่วมกับ DNA ความคิดของผู้ก่อตั้ง ที่มองเห็นเสมอว่าต้องธุรกิจต้อง “อินเทรนด์” ต้องก้าวไปข้างหน้าจะตกขบวนไม่ได้ ทำให้มีแนวความคิดแบบยืดหยุ่น คือปรับตัวได้เสมอ (Adaptability) โดยไม่ยึดติดกับโมเดลความสำเร็จเดิม แต่ยังสามารถ “ใช้จุดแข็งเดิม” มาต่อยอดเป็น Ecosystem ของธุรกิจที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้อีกด้วย

ส่องภาพรวม Ecosystem ในเครือ อาร์เอส กรุ๊ป  

ธุรกิจ “Entertainmerce” ร่วมกับ RS Mall ที่เตรียมผลักดันธุรกิจใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง อย่างผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ รังนก ถั่งเช่า และอื่นๆ รวมไปถึง “Pet Food” มีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 40,000 ล้านบาท และมีอัตราเติบโตปีละประมาณ 10%

ธุรกิจสื่อในมือทั้งทีวีอย่าง ช่อง 8 และออนไลน์ที่เป็นช่องทางนำเสนอสินค้า และบริการของธุรกิจในเครือได้แบบ Free media และยังสร้างรายได้จากการโฆษณาได้ด้วย

การบริหารคอนเทนต์ทั้งเก่าและใหม่ ที่สามารถสร้างรายได้เพิ่มจากช่องทางออนไลน์ และการขายสิทธิให้กับต่างประเทศ ซึ่งตลาดของคอนเทนต์ยังครอบคลุม “Mass market” ทั้ง 3 กลุ่ม คือ — อาร์สยาม (Rsiam) เจาะกลุ่มเพลงลูกทุ่งแต่จะเน้นความเป็นสากลมากขึ้น — คามิกาเซ่ (Kamikaze) เน้นเจาะกลุ่มวัยรุ่นใหม่ — และโรสซาวด์ (Rose Sound) เจาะกลุ่มฟังเพลงแนวตลาดโดยศิลปินรุ่นใหม่

การเตรียมแผนธุรกิจจัด Event หลังจบวิกฤตไวรัส นับเป็นการนำรีซอร์สและคอนเทนต์ที่ที่มีอยู่เข้ามาช่วยสร้างความสร้างสรรค์ในรูปแบบกิจกรรมที่จับต้องได้ และสามารถยิงตรงสู่กลุ่มเป้าหมายได้แบบเชิงรุก

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ด้วยแนวคิดของผู้บริหารอย่าง “เฮียฮ้อ” และการเผยโฉมธุรกิจที่ปรับโมเดลใหม่ของ อาร์เอส นับว่าเป็นก้าวครั้งใหม่ของธุรกิจที่อยู่คู่กับความทรงจำของคนไทย “ที่นับจับตามอง”

นักการตลาดดิจิทัล ผู้เริ่มต้นเส้นทางด้วยความหลงใหลในงาน Graphic Design และ Multimedia ต่อยอดสู่การสร้างแบรนด์ การสื่อสารและการโฆษณา ผ่านร้อนผ่านหนาวในงานการตลาดดิจิทัล กับองค์กรเล็กๆ จนถึงระดับประเทศ มานานกว่า 15 ปี และด้วยความฝันที่จะผลิตงานเขียนดี ๆ ของตัวเอง ไว้นำไปประดับห้องสมุดส่วนตัว สักเล่ม..สองเล่ม

Related Posts