การเดินเกมธุรกิจที่ “เข้าท่า” ของ Garena Free Fire ชี้ถึง “คุณค่า” ของส่ิงที่โดนสังคมตัดสิน

1

เรียกว่าทำกระแสได้ “ไม่ต้องใช้ดราม่า” เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Garena Free Fire ร่วมกับบอดี้สแลม ปล่อยเพลง “ไม่เข้าท่า” ออกมา พร้อมทำยอดวิวสูงกว่า 5 ล้านวิวภายในหนึ่งสัปดาห์

ชื่อเพลงที่เล่นกับภาษา “ชวนหัวร้อน” แต่กลับแฝงด้วยวิธีคิดในการมองมุมกลับ ว่าสิ่งที่ “ไม่เข้าท่า” ในสายตาของสังคมอย่าง “เกม” หรือ “อีสปอร์ต” นั้นสามารถสร้างคนให้ “เดินตามฝัน” เป็นเหมือนเรือที่ออกจากฝั่งและไม่ยอมกลับเข้าท่าจนกว่าจะเดินทางไปถึงจุดหมายได้เช่นกัน

ซาวน์ดนตรีและเนื้อหาที่ทำออกมายังคงยอดเยี่ยมตามมาตรฐานของบอดี้สแลม พี่ตูนเองก็เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของการ “ต่อสู้เพื่อความฝัน” ทั้งของตัวเองในการทำเพลง และเพื่อสังคมอย่างโครงการชื่อดัง “ก้าวคนละก้าว”

ทว่ากลุ่มแฟนเพลงที่เหนียวแน่นของบอดี้สแลมจะอยู่ในกลุ่ม 30+ จึงเป็นเหมือนเป็นการปล่อยหมัดเฉียดไปยังกลุ่มคนที่อยู่รอบข้างของกลุ่มเป้าหมายของ Garena Free Fire ของแคมเปญนี้แบบตรงๆ มากกว่า

อดคิดไม่ได้ว่าถ้าได้ศิลปินที่มีภาพเป็นสัญลักษณ์ของ “ความขบถ” คิดนอกกรอบที่อยู่ในใจของคนรุ่นใหม่อย่างแรปเปอร์ชื่อดังหลายคนในตอนนี้มาร่วมฟีเจอร์ริ่ง “เพิ่มอะดรีนาลีน” น่าจะทำให้ความย่ิงใหญ่ของเพลงนี้ไปได้ไกลในอีกระดับ!

อย่างไรก็ตามฝ่ายวางแผนแคมเปญนี้ต้องคิดมาแล้วอย่างดี คือการส่งสารไปยังกลุ่มผู้เล่น Garena Free Fire รวมถึงคนรอบตัวด้วย ถึงประเด็นที่แหลมคมอย่าง “เด็กหลังห้อง” ที่โดนตัดสินไปแล้วว่า “ไม่เอาไหน” ในสายตาประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย ที่จริงๆ แล้วคนทุกคนควรได้รับการส่งเสริมในเรื่องที่ตัวเองถนัดและให้ความสนใจ 

มากกว่าการเลือก “ให้คุณค่ากับคน” เพียงเพราะคนคนนั้นสามารถสอบเข้าหมอและวิศวะได้ “อย่างที่ป้ายหน้าโรงเรียนเชิดชู”

นักการตลาดดิจิทัล ผู้เริ่มต้นเส้นทางด้วยความหลงใหลในงาน Graphic Design และ Multimedia ต่อยอดสู่การสร้างแบรนด์ การสื่อสารและการโฆษณา ผ่านร้อนผ่านหนาวในงานการตลาดดิจิทัล กับองค์กรเล็กๆ จนถึงระดับประเทศ มานานกว่า 15 ปี และด้วยความฝันที่จะผลิตงานเขียนดี ๆ ของตัวเอง ไว้นำไปประดับห้องสมุดส่วนตัว สักเล่ม..สองเล่ม

Related Posts