เทคโนโลยียุคใหม่ กับธุรกิจ

เทคโนโลยียุคใหม่ กับธุรกิจ3

เทคโนโลยียุคใหม่ กับธุรกิจ – จริงๆ แล้วบทความต่อไปนี้เป็นบทความที่เรียกได้ว่าถูกผมดองมากว่า 3 ปี และไม่มีโอกาสได้นำมาเสนอให้ท่านผู้อ่านอย่างจริงจังสักที เพราะยิ่งเมื่อเราพยายามค้นคว้าตามติดเรื่องเทคโนโลยีมากเท่าไร กลับพบว่า มีเรื่องราวอีกมากมายไม่รู้จักสบสิ้นให้เรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Block-chain, Big Data, Data Science, AI, หรือ Machine Learning ศัพท์เหล่านี้ล้วนถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในระยะเวลา 3 ปีที่ผมดองบทความนี้ไว้

ถึงวันนี้ผมจึงมีโอกาสนำบทความเก่าๆ มาปัดฝุ่นเล่าเรื่องราวรวบยอด สิ่งที่เคยคิดว่าจะเกิด และเกิดไปหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเทรนฮิต ของสินค้าประเภท wearable อย่าง apple watch, การนำข้อมูลมหาศาลมาวิเคราะห์ผลทางการตลาด, โลกที่จะขับเคลื่อนด้วย cloud เป็นต้น

เมื่อปี 2015 บริษัท Apple ได้ออกวางจำหน่ายอุปกรณ์ที่มีหน้าตาละม้ายคล้ายนาฬิกา แต่มีความสามารถในการประมวลผลเฉกเช่นมือถือ และได้ตั้งชื่อมันว่า Apple Watch ซึ่งแน่นอนว่า เจ้าพ่อเทคโนโลยีอย่าง Apple สามารถออกแบบและดีไซน์ได้สวยงามจนคนซื้อถล่มถลาย และถูกจับตามองว่าเป็นสินค้าใหม่แห่งอนาคตหรือไม่

จับอัตราหัวใจ
เมื่อเราวัดทุกก้าวเดิน ทุกการเต้นของหัวใน

แต่อย่างไรก็ดี ผู้ที่คิดค้นนาฬิกาสุดฉลาด (Smart Watch) นี้ ไม่ใช่ Apple แต่อย่างใด นาฬิกาข้อมือนั้นถูกพัฒนาด้วยระบบดิจิตัลมาอย่างยาวนาน หากนึกย้อนกลับไปตอนเด็กๆ ท่านผู้อ่านอาจจะเคยเห็นนาฬิกาที่มีปุ่มเครื่องคิดเลขและหน้าจอยังเป็นขาวดำก็เป็นไปได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เทคโนโยยีในยุคนี้ย่อมสูงกว่า และก้าวกระโดดได้อย่างรวดเร็วตามทฏษฎีกฎของมัวร์ (Moore’s law) ดังจะเห็นได้ว่า ผู้เล่น ที่เข้ามาสู่ Smart Watch คือกลุ่มเจ้าพ่อเทคโนยีมือถือทั้งหลาย อย่างเช่น ซัมซุง และ หัวเหว่ย

ด้วยเทรนนี้ได้ดำเนินผ่านมาหลายปีแล้ว และ Apple ยังคงออกนาฬิการุ่นใหม่ที่ดีกว่าเรื่อยๆ ทำให้เราเข้าใจว่า สิ่งนี้อาจจะไม่ใช่สินค้าฉาบฉวยอย่างนาฬิกาเครื่องคิดเลขอีกต่อไป สิ่งนี้คือ wearable ที่จะมาตอบผู้คนยุคใหม่แห่งโลกดิจิตัลนี้ครับ

เทคโนโลยียุคใหม่ กับธุรกิจ อย่าง Wearable ที่ผมหมายถึงจะไม่ใช่เพียงแค่ Smart Watch หรือนาฬิกาข้อมือสุดฉลาดเพียงอย่างเดียว แต่จะหมายถึงอุปกรณ์มากมายที่สามารถนำมาสวมใส่ และทำหน้าที่ของมันได้มากกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ อย่างเช่น ในปัจจุบัน นาฬิกาแทบทุกคนมีอุปกรณ์ในการตรวจวัดจังหวะเต้นหัวใจ มีทั้งสายรัดหน้าอก นาฬิกาข้อมือ ระบบ GPS วัดรอบวิ่ง ระยะทาง ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาประมวลผลให้กับผู้ใช้งาน ได้นำข้อมูลไปพัฒนาร่างกายตัวเอง เช่น การวิ่งเพื่อลดน้ำหนักนั้น มีการควบคุมจังหวะหัวใจที่ต่างจากการวิ่งเพื่อเน้นการลงแข่ง

แล้วในอนาคต wearable จะทำอะไรได้อีก? – คำถามที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้นคือ ข้อมูลอันมากมายมหาศาลเหล่านี้ เอาไปทำอะไรได้ และมีผลแง่มุมอันเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร

คำตอบคือ ข้อมูลทั้งหมดที่มีนั้น มีมูลค่ามหาศาล แต่หากไม่มีการนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลเหล่านี้ก็ไร้ค่าอย่างทันที … และนี้คือที่มาของคำว่า Big Data และ Data Science ครับ

คำว่า Big Data เป็น Buzzword (ศัพท์เทคนิคที่ถูกนำมาใช้บ่อยๆ) หรือพูดง่ายๆ ได้ว่า ถ้าบริษัทคุณอยากเป็นแนวหน้า เราจะต้องมีการบริหารจัดการ Big Data อย่างจริงจังสิ แต่บางทีเราก็ไม่รู้หรอกนะว่า Big Data มันจะมีประโยชน์ยังไง – หากแท้จริงแล้ว หัวใจสำคัญคือ เราสามารถใช้ข้อมูลที่มีอยู่ และปรับเปลี่ยนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้หรือไม่

จนถึงปัจจุบัน 2020 ที่คุณสามารถหาซื้อ Smart Watch ได้ในราคาไม่ถึงพันบาทจากแบรนด์จีนโนเนม ไปจนถึง Smart Watch หรูหรา แบรนด์ดังเรือนละหลายหมื่น และเราไม่รู้เลยว่าแท้จริงแล้ว ข้อมูลที่นาฬิกาเหล่านี้จับ ได้ถูกนำไปใช้ในการใดอีกบ้าง

นอกจากเรื่องของข้อมูลมหาศาล ที่ผู้ให้บริการอาจจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์แล้ว ยังมีเรื่องถึงความปลอดภัยของข้อมูลอีก และในเมื่อไม่นานมานี้ (ก.ค. 2020) นาฬิกาชื่อดังอย่าง Garmin ก็ยังโดนแฮ็คระบบเสียอีก ซึ่งโดนเรียกค่าไถ่กว่าหลายล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งหมดทั้งปวง เราจึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ณ วันนี้ เรากำลังอยู่บนโลกที่ถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลในทุกส่วนของการใช้ชีวิต เราเปลี่ยนจากการวิ่งออกกำลังกายเพียงให้ครบ 1 ชั่วโมง มาเป็นการวิ่งที่ลงรายละเอียดเสมือนเครื่องจักร เช่น คุมหัวใจโซน 2 เลือก pace 10 จะได้ครบ 6 กิโลเมตรในหนึ่งชั่วโมง ปริมาณน้ำ ปริมาณแคลลอรี่ที่เผาผลาญ เป็นต้น

และมันจะไม่หยุดเพียงเท่านี้ การได้ข้อมูลมากมายมหาศาลที่กล่าวมานั้น ในเชิงสถิตินั้นมีความสำคัญยิ่ง คุณจะสามารถทำนายอนาคตว่าคนนี้จะวิ่งรอบหน้า กี่โมง จะวิ่งกี่กิโลเมตร จะวิ่งกี่นาที เพราะข้อมูลในอดีตของคนนั้น ได้สร้างรูปแบบบางอย่างเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำนายอนาคตได้ และนี่แหละครับคือก้าวเล็กๆ ของการใช่ Data Science ในการทำนายบางสิ่ง 

แล้วใครได้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ ลองคิดสิครับว่า ถ้าผมเป็นบริษัทประกันสุขภาพ ผมคงดีใจที่เห็นผู้เอาประกันของผมตั้งใจออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูและสุขภาพให้กับตนเอง ไม่ต้องเจ็บป่วยบ่อย ผมก็คงคิดเบี้ยประกันภัยที่ถูกลงสำหรับคนกลุ่มนี้ หรือลองคิดสิครับว่า บัตร memebr card 7-11 ที่น้องพนักงานเฝ้าถามทุกครั้งที่ซื้อ ได้เก็บข้อมูลการซื้อสินค้าของคุณไว้มากมายมหาศาลเพียงใด

คุณกำลังแลกส่วนลดไม่กี่บาท ด้วยความยินดีที่จะให้ 7-11 เก็บข้อมูลต่อไป ก็ใช่นะครับข้อมูลการซื้อไอศรีมของผมอาจจะไม่สำคัญเท่าใดนัก แต่ต่อไปนี้ 7-11 อาจจะไม่ได้รู้เพียงแค่ผมชอบไอศรีมรสอะไร แต่มันอาจจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ผมมักจะมาซื้อไอศรีมในช่วงบ่าย หรือรู้ได้ว่าผมยอมเดินเลยผ่านแฟมิลี่มาร์ท เพื่อมาซื้อไอศรีมยี่ห้อนี้ที่ 7-11 ก็จะมาสามารวางแผนกลยุทธ์ ต่อรองกับไอศรีมแบรนด์นี้ได้ง่ายขึ้น เพราะ 7-11 รู้จักผมดีกว่า ไอศรีมแบรนด์นั้นเสียอีก

สิ่งเราเรียนรู้ก็คือการใช้ข้อมูลอย่างมีหลักการณ์ จะส่งผลมหาศาลต่อการวางแผนกลยุทธ์อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการค้นหา insight ของกลุ่มลูกค้า อย่างที่ 7-11 สามารถทำได้ หรือการเน้นการประหยัดพลังงานของขั้นตอนการผลิตก็เป็นไปได้  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นโลกในยุคอนาคต เมื่อข้อมูลกลายเป็นสิ่งมีค่า เราจะทำอย่างไร และสามารถปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเราได้อย่างไรกันบ้าง? ต้องคอยติดตามตอนต่อไปนะครับ

อย่าลืมติดตาม Facebook Page ได้ที่นี่