รู้จักตลาดน้ำเชื่อมในประเทศไทย

monin0

ถ้าพูดถึงน้ำเชื่อม ทุกคนจะนึกถึงอะไร ?

คนส่วนใหญ่คงนึกถึงน้ำแดงหรือน้ำเขียวเฮลซ์บลูบอย ที่ไว้ใส่ในน้ำแข็งใส หรือไว้ทำนมเย็น แต่ที่จริงแล้วน้ำเชื่อมมีมากกว่าที่คุณคิด และวันนี้ผมจะนำทุกท่านมารู้จักกับประเภทน้ำเชื่อมในเมืองไทยกันครับ

 

ประเภทน้ำเชื่อมในตลาดเมืองไทยแบ่งกว้าง ๆ ได้เป็น 2 ระดับ คือ

 

1. น้ำเชื่อมธรรมดา หรือ ไซรัป (Syrup) ที่คนไทยมักจะใช้ทับศัพท์กันนั่นแหละครับ

น้ำเชื่อมประเภทนี้เราจะพบเห็นได้ง่ายมาก ส่วนใหญ่มักใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มที่เรารับประทานกันทั่ว ๆ ไป อาทิเช่น น้ำเชื่อมเฮลซ์บลูบอย น้ำเชื่อมมิตรผล น้ำเชื่อมลิน เป็นต้น  ซึ่งน้ำเชื่อมประเภทนี้  เราสามารถหาซื้อได้ง่ายและในราคาที่ไม่แพงนัก โดยร้านขายเครื่องดื่มหรือร้านกาแฟทั่วไปจะนิยมใช้ประเภทนี้กันครับ

2. น้ำเชื่อมแบบเข้มข้น หรือ พรีเมียมไซรัป (Premium Syrup)

น้ำเชื่อมแบบนี้ต่างจากแบบธรรมดาอย่างไร ?

 

คำถามนี้ มีคำตอบครับ

 

พรีเมียมไซรัปนั้น จะมีกลิ่นและรสที่เข้มข้นกว่าไซรัปธรรมดา พูดง่าย ๆ ก็คืออร่อยกว่าไซรัปธรรมดานั่นแหละครับ แต่สินค้าที่พรีเมี่ยมกว่าก็ต้องแลกมาด้วยราคาที่สูงกว่า และการหาซื้อที่ยากกว่าน้ำเชื่อมธรรมดา น้ำเชื่อมประเภทนี้ ส่วนใหญ่นั้นจะนำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น โมนิน (Monin), ดาวินชี่ (Davinci), ทอรานี่ (Torani), 1883 และเตแซร์ (Teisseire) เป็นต้น น้ำเชื่อมประเภทนี้ แม้ลักษณะการใช้งานจะดูเหมือนไม่ต่างจากน้ำเชื่อมธรรมดา แต่จริง ๆ แล้วจะมีกลิ่นและรสเยอะกว่ามาก รวมถึงยังสามารถนำมาผสมกันเพื่อเปลี่ยนเป็นรสชาติใหม่ได้อีกด้วย จึงทำให้ร้านอาหารและเครื่องดื่มที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ นิยมใช้น้ำเชื่อมแบบนี้กัน

 

อะไรคือเหตุผลที่ร้านอาหารหันมาใช้พรีเมี่ยมไซรัปกันอย่างเเพร่หลายมากขึ้น ?

 

อย่างแรกเลยก็คือคุณภาพของพรีเมี่ยมไซรัป เพราะว่าทำจากน้ำตาลอ้อย 100% จึงทำให้รสชาติและกลิ่นชัดเจนกว่าน้ำเชื่อมธรรมดา สิ่งต่อมาก็คือการแต่งกลิ่นและสีที่มีความใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งทำให้เครื่องดื่มหรือขนมที่ใส่พรีเมี่ยมไซรัปลงไปนั้น มีรสชาติที่อร่อยกว่า และสิ่งสำคัญที่สุดที่ไม่สามารถหาได้จากน้ำเชื่อมธรรมดา นั่นก็คือ After taste (กลิ่นและรสชาติที่ยังคงค้างอยู่) ซึ่งมีเฉพาะในพรีเมี่ยมไซรัปเท่านั้น

ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ เป็นเหตุผลหลัก ๆ ที่ร้านอาหารหรือร้านเครื่องดื่มหันมาใช้พรีเมี่ยมไซรัปกันมากขึ้นนั่นเอง

นี่ก็เป็นประเภทของน้ำเชื่อมในเมืองไทย ที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันนะครับ หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับทุกท่านไม่มากก็น้อย แล้วเจอกันใหม่ในพาร์ทต่อไปครับ

 

พนักงาน บ.เอกชนแห่งหนึ่ง ที่นึกครึ้มอยากขีดๆเขียนๆขึ้นมาบ้าง ชอบอะไรที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยก ชอบทำอาหารและเป็นมือใหม่ในการถ่ายรูป

Related Posts

แสดงความคิดเห็น