การทำงานกันแบบ พาร์ทเนอร์

ทำงาน0

ในการเริ่มต้นสร้างธุรกิจ start up  แน่นอนว่าเราไม่สามารถทำได้โดยตัวของเราเองคนเดียว โดยที่ไม่ต้องการทีมหรือพาร์ทเนอร์มาร่วมมือ คน ๆ เดียวอาจจะคิดค้นสินค้าใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ แต่ถ้าขาดความเข้าใจในฟังชั่นการทำงานอื่น ๆ เช่น การตลาด หรือแม้กระทั้งทางด้านเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเว็บไซต์ ถ่ายวีดีโอ หรือทำArtwork ขึ้นมาสักชิ้นเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้าในตลาด นั่นคงจะยากที่จะประสบความสำเร็จ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นธุรกิจให้ประสบความสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น

สิ่งที่ผู้สร้างธุรกิจต้องการนั้นคือพาร์ทเนอร์

 

ผู้เขียนได้จำแนกพาร์ทเนอร์ออกมาเป็น 3 แบบที่ผู้สร้างธุรกิจstart up นั้นต้องการ คือ

1.ผู้บริหารจัดการ – คือ ผู้ที่ดูแลธุรกิจ จัดการด้านการเงิน ด้านภาษีในแต่ละเดือน การวางแผนระยะสั้นและระยะยาว เพื่อที่ให้ธุรกิจดำเนินได้อย่างมั่นคง ซึ่งผู้ที่เป็นผู้บริหารนั้นต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกลในการวางกลยุทธ์ และสามารถคุมลูกน้องให้สามารถทำตามแผนที่วางไว้ได้อย่างถูกต้องตามแผน

2.โปรแกรมเมอร์ – ถ้าผู้สร้างธุรกิจไม่ได้จบด้านเทคโนโลยี อย่างเช่น การเขียน Code สำหรับเว็บไซต์ แน่นอนว่าเจ้าของธุรกิจจะต้องการคนมีความสามารถด้านนี้เข้ามาช่วย เนื่องจากตอนนี้เทรนด์ส่วนใหญ่อยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์กันมากขึ้น การสร้างเว็บไซต์จึงมีความสำคัญ  เพราะเว็บไซต์เปรียบเสมือนหน้าบ้านที่ให้ลูกค้าเข้ามาเยี่ยมชมได้ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างการรับรู้ให้กับลูกค้า เนื่องจากสินค้าเราเป็นสินค้าใหม่ และยังสามารถที่จะสร้างลูกเล่นต่าง ๆ ผ่านเทคโนโลยีได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการทำแคมเปญการตลาดออนไลน์ หรือการนำเสนอโปรโมรชั่นด้วยเช่นกัน

3.การตลาด – พาร์ทเนอร์ด้านตลาด สามารถช่วยคิดช่องทางการขาย และนำเสนอสินค้าสู่ตลาดได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด แน่นอนว่า ต่อให้สินค้าเจ๋งขนาดไหน แต่ถ้าไม่มีการตลาดที่ดี สินค้านั้นก็ไปไม่รอด หน้าที่ของการตลาดคือ การวางแผน และตอบสนองความต้องการของลูกค้า รวมถึงการสร้างแบรนด์ด้วย เมื่อแบรนด์ของธุรกิจยังไม่แข็งแรง เมื่อผู้บริโภคมาเห็น ก็คงยากที่จะรู้ว่าแบรนด์ของคุณคืออะไรหรือต้องการขายอะไรกันแน่ ซึ่งทีมการตลาดสามารถที่จะสร้างรากฐานให้มั่นคงได้ เมื่อมีฐานที่มั่นคงแล้ว เวลาทำการตลาดก็จะง่ายต่อการเข้าถึงลูกค้ายิ่งขึ้น

 

นี่ละครับข้อดีของการมีพาร์ทเนอร์มาร่วมทีม การทำงานใด ๆ ก็ตาม ถ้าใช้ความคิดของคน ๆ เดียว กรอบความคิดนั้นก็จะแคบเกินไป ไม่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ แต่กลับกัน ถ้ามีพาร์ทเนอร์จากหลากหลายสาขา ไอเดียการทำธุรกิจก็จะมากขึ้นไปด้วย เมื่อนำความคิดจากหลากหลายประสบการณ์มาแชร์ร่วมกัน ผลสุดท้ายประโยชน์ก็จะตกอยู่กับผู้ทำธุรกิจนั่นเอง เพราะการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ จะทำให้ภาระที่หนักอึ้งกลายเป็นเบาทันที