การตลาดแห่งความเศร้า

0

มนุษย์ทุกคนล้วนเป็นสัตว์สังคม มนุษย์หนึ่งคนเข้าหามนุษย์อีกคนหนึ่งเพื่อสร้างการปฏิสัมพันธ์บางอย่างที่เกื้อกูลต่อชีวิตเเละความรู้สึกของกันเเละกัน สิ่งที่มนุษย์ต่างจากสัตว์ทั่วไปคือเรามีความรู้สึก มีความนึกคิด

เรามีความสุข เรามีความหวัง เรามีความรัก เเละในมุมมองที่กลับกันเราก็ยังมีความเศร้า ความทุกข์และความผิดหวัง ความรู้สึกเหล่านี้จะวนเวียนอยู่รอบตัวเราในทุกๆวัน

“เมื่อความสุขเป็นสิ่งที่มนุษย์น่าจะโหยหาเเต่ทำไมคนเราถึงยังเลือกที่จะจดจำสิ่งที่ทำให้เราเศร้าใจ?”

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เเปลกประหลาดที่สุดในจักรวาล ในวันที่เรามีความสุขเรามักจะหลงเหลือเพียงเเค่เศษซากของความทรงจำเก็บไว้ในหัวใจของเรา เเต่ในวันที่เราพบกับความเศร้า ทุกความทรงจำของวันนั้นมันจะตราตรึงติดอยู่ในใจของเราไปตราบนานเท่านาน

ทำไมกันล่ะ?

เพราะความรู้สึกของมนุษย์ไม่สามารถประเมินได้ด้วยเครื่องมือใดๆเรามักจะเลือกจำในสิ่งที่เเย่มากกว่าสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกดี เรามักจะเลือกจำในวันที่อกหักมากกว่าจดจำช่วงเวลาดีๆที่ได้คบกับใครบางคน เรามักจะเสียใจจะเป็นจะตายอย่างยาวนานในวันที่เราเสียอะไรบางอย่างไป เราจะเผลอลืมวันดีๆที่เราได้ครอบครองสิ่งมีค่านั้น

ฟังดูเเล้วราวกับว่ามนุษย์นั้นเสพติดความเศร้า เเต่เเท้ที่จริงเเล้วความเศร้าจะถูกบรรจุในความทรงจำของเราได้ง่ายกว่าความสุข

นักการตลาดนำพฤติกรรมของมนุษย์มาวิเคราะห์จนสามารถสรุปได้ว่ามนุษย์มักจะนำความเศร้ามาตราตรึงอยู่ในจิตใจและความทรงจำได้ง่ายกว่าเเละรวดเร็วกว่า นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม Emotional Marketing ถึงกลายเป็นเทคนิคการตลาดที่มีอิทธิพลต่อสังคมเเละผู้บริโภคได้อย่างยาวนานเพราะมนุษย์ทุกคนต่างต้องประสบพบเจอกับเรื่องราวของความเศร้าช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในชีวิต สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้บริโภค “อิน” กับการตลาดที่เเฝงความเศร้าได้ง่ายยิ่งขึ้น

ภาพยนตร์โฆษณาที่มีเเนวโน้มอิงเนื้อหาปนกับความเศร้ามักจะมียอดผู้ชมสูงกว่าโฆษณาที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีโฆษณาแนวนี้อยู่มากมาย ขอยกตัวอย่างคร่าวๆให้ผู้อ่านได้ย้อนระลึกดูว่าเราเคย “อิน” กับโฆษณาเหล่านี้กันหรือเปล่า

“You are in charge of how you react to the people and events in your life. You can either give negativity power over your life or you can choose happiness instead.” – Anais Nin

นักการตลาด นักเดินทางสายธรรมชาติ และหนอนหนังสือ ที่มีความสนใจมากมายจนนับไม่ถ้วน ตั้งแต่ด้านสังคม การเมือง การศึกษา ธุรกิจ เทคโนโลยี และวงการเกม

Related Posts

แสดงความคิดเห็น